Posts Tagged social media
เหตุผลที่คนแชร์
Posted by siwat in Digital Marketing on June 13th, 2011
ในช่วงสามถึงสี่เดือนที่ผ่านมานี้ กระแสความนิยมในการใช้ทำโฆษณาแบบไวรัล (Viral Advertising) มีมากขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของวีดิโอคลิป เกมส์ หรือ แอพพลิเคชั่นผ่านทางเว็บเครือข่ายสังคมตัวอย่างกรณีศึกษาดังอย่างเช่น คลิปครูปาบีบี ของ เบอร์เกอร์คิง หรือ Disconnect to connect ของ DTAC ที่มีผู้ชมในหลักล้านครั้ง มีผู้วิเคราะห์กันอย่างมากว่าปัจจัยหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังจำนวนการชมที่สูงเหล่านั้นเป็นเพราะผู้ชมคลิปได้ทำการส่งต่อ หรือ แชร์ต่อให้กับคนที่รู้จักผ่านทาง เครือข่ายสังคม โดยเฉพาะเฟซบุ๊ค
ถ้าหากการแชร์ต่อ เป็นปัจจัยสำคัญของการกระจายตัวของเนื้อหาที่ส่งต่อแบบไวรัล (Viral Content) แล้ว การทำความเข้าใจเหตุผลที่ผู้บริโภคส่งต่อหรือแชร์ต่อ ข้อความ ก็น่าจะมีความสำคัญไม่น้อยต่อการออกแบบ Content สำหรับการโฆษณา หากเราออกแบบ Content ของเราได้ดี สามารถไปสะกิดความต้องการส่งต่อของผู้บริโภคได้ โอกาสที่ Content นั้นจะเกิดการกระจายตัวต่อไปในวงกว้างย่อมมีไม่น้อยทีเดียว ผู้เขียนได้ทำการศึกษาจากงานวิจัยต่างๆ และสังเกตตัวอย่างประกอบจากรูปแบบการแชร์ Content ต่างๆ ที่เกิดขึ้น คิดว่าสามารถสรุปได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
- Information Sharing การแชร์ข้อมูล (อันมีประโยชน์) – การแชร์ในรูปแบบนี้ เกิดขึ้นจากการที่ผู้อ่าน เมื่อได้อ่าน หรือชม Content นั้นแล้วเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ น่าจะบอกต่อ ให้กับคนรู้จัก เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อื่นๆ ทั้งนี้ Content บางตัว อาจมีประโยชน์กับผู้ชมบางกลุ่มก็เป็นได้ เช่นคนชอบเรื่องเทคโนโลยีก็มีแนวโน้มจะส่งต่อหรือแชร์ต่อข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี ให้กับคนที่ชื่นชมเทคโนโลยีด้วยกัน
เมื่อนักการตลาดทราบเช่นนี้แล้ว หากเราออกแบบข้อมูลของเราให้มีประโยชน์แล้ว โอกาสที่จะเกิดการส่งต่อหรือแชร์ข้อมูลนั้นก็เป็นไปได้สูง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้า High involvement ที่ต้องอาศัยข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อ หรือ ในกลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการข้อมูลมากเพื่อตอบสนองกับการใช้ชีวิตประจำวันเช่นกลุ่มคุณแม่มือใหม่ ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรเป็นต้น
- Emotional Sharing กดแชร์ตามอารมณ์ ในหลายกรณี ผู้บริโภคแชร์ หรือส่งต่อ Content เพียงเพราะต้องการระบายอารมณ์ที่มีต่อ Content นั้นๆ หรือเกิดความประทับใจ หรือเกิดความรู้สึกในทางใดทางหนึ่งอย่างมากกับ Content นั้นๆ เช่น คลิปตลกขบขัน คลิปเนื้อหาที่มีความเศร้า สะเทือนใจ หรือความแปลก น่าประหลาดใจ ส่วนใหญ่เมื่อผู้บริโภคกดแชร์ คลิปเหล่านี้ มักจะพ่วงไปด้วยความคิดเห็น หรือข้อความทางอารมณ์ที่มีต่อ Content นั้นๆ ด้วย
การออกแบบ Content ในมีลักษณะสุดขั้วทางอารมรณ์ จึงมีโอกาสที่จะสร้างการขยายตัวจากการส่งต่อหรือการแชร์ต่อได้สูง อย่างไรก็ตามการเลือกรูปแบบทางอารมณ์ของเนื้อหาเหล่านั้น มีความจำเป็นจะต้องจัดการให้สอดคล้องไปกับภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือสินค้าของเราด้วยเช่นกัน - Self Expression พฤติกรรมการแชร์ หรือการบอกกล่าวเล่าความ หลายๆ ครั้ง เกิดขึ้นจาก การต้องการแสดงความเป็นตัวตนให้สังคมได้รับรู้ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้บ่อยๆ คือการเปลี่ยนสถานะใน เฟซบุ๊ค หรือการ Check-in ใน Foursquare เป็นต้น
นักการตลาดอาจใช้ประโยชน์จากการ แชร์เพื่อแสดงตัวตนนี้ได้ โดยการปล่อยข้อความ หรือส่งข้อความ ไปให้กับกลุ่มผู้บริโภคที่เราทราบแน่นอนว่ามีลักษณะนิสัย ส่วนตัว และการใช้ชีวิตสอดคล้องกับ แบรนด์ หรือสินค้าของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มลูกค้าขาประจำ ผู้จงรักภักดีต่อแบรนด์ของเรา มีโอกาสจะส่งต่อ Content ในลักษณะนี้ได้มาก การบริหารฐานข้อมูลลูกค้า และการจัดกลุ่มลูกค้าชั้นดี และลูกค้าที่สามารถเป็นตัวแทนของแบรนด์ได้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำการตลาดผ่านทางเครือข่ายสังคมในปัจจุบัน
เขาคุยกับเพื่อนอย่างไร เรา(นักการตลาด)อาจต้องทำอย่างนั้น
Posted by siwat in Digital Marketing on December 18th, 2010
เราจะปฏิเสธไม่ได้เลยครับ ว่าในปัจจุบัน นักการตลาดไทยต่างเล็งเห็นถึงโอกาสในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของสินค้าหรือบริการที่ตนเองดูแลอยู่ สังเกตได้จากกิจกรรมทางการตลาดต่างที่มีออกมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง แฟนเพจ หรือทวิตเตอร์โปรไฟล์ บางแบรนด์ก็เริ่มลงทุนโฆษณาในเฟซบุ๊ค ในขณะที่บางแบรนด์ใช้วิธีจูงใจคนให้มากด Like ด้วยการแจกของฟรี เช่น Blackberry เป็นต้น ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก ว่ากิจกรรมต่างๆที่นักการตลาดได้สร้างขึ้นนั้น มาถูกทางแล้วหรือยัง
ผมได้มีโอกาสศึกษาบางส่วนของรายงานพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ของไทย ซึ่งจัดทำโดย TNS* พบว่า อันที่จริงแล้วคนไทยเราค่อนข้างตื่นตัวกับการใช้งานสังคมออนไลน์ไม่น้อย เราใช้งานเว็บไซต์เครือข่ายสังคมอย่าง hi5 หรือ facebook อย่างน้อยประมาณ 15 ชม. ต่อสัปดาห์ มีเพื่อนออนไลน์เฉลี่ย 179 คน อย่างไรก็ตามเรายังค่อนข้างติดต่อกับแบรนด์สินค้าต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตค่อนข้างน้อย โดยเฉลี่ยแล้วคนแต่ละคน จะติดต่อกับสินค้า หรือบริการผ่านอินเทอร์เน็ต แค่ 3.5 แบรนด์เท่านั้นเอง น่าคิดนะครับ ถ้าหากนักการตลาดปรับเปลี่ยนวิธีการทางการสื่อสารให้มีความเป็นมิตรมากขึ้น เหมือนกับเพื่อนติดต่อ พูดคุยกัน น่าจะทำให้ผู้บริโภคออนไลน์ไทย ชอบมากขึ้นได้เช่นกัน
ผมจึงขอแนะนำให้ลองพิจารณาดูกันอีกทีครับ ว่า “เพื่อนที่ดี” เขาปฏิบัติอย่างไร และขอแนะนำให้นำมาประยุกต์ใช้กับแผนงานการสื่อสารการตลาดครับ
- เป็นผู้ฟังที่ดี ก่อนจะเริ่มโฆษณา ประชาสัมพันธ์สินค้า ต้องรู้จักฟังก่อนครับ เพื่อจะได้เข้าใจว่าลูกค้าคิดอะไรอยู่ หรืออย่างกรณีที่มีคนมาต่อว่าสินค้าเรา เราควรต้องตอบ หรืออย่างน้อยบอกให้เขารู้โดยเร็วว่าเรารู้แล้ว เพื่อให้เรารู้ว่าเราฟังเขาอยู่ตลอดเวลา
- มีความจริงใจ ห้ามโกหก ห้ามกุ หรือแต่งเรื่อง เราควรเล่าถึงจุดดีหรือ ประโยชน์ของสินค้า หรือบริการของเราที่มีต่อลูกค้า สร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าได้
- ทำให้เรายิ้ม / หัวเราะได้ บางครั้งอาจต้องมีเรื่องสนุกสนาน หรือสร้างความประหลาดใจ (ในทางที่ดี) เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกชอบ และมีความสุขกับเรา อาจทำได้โดยผ่านงานโฆษณาเชิงขบขัน หรือ การให้ส่วนลด ของขวัญ ของกำนัลต่างๆ หรือแม้แต่สิ่งเล็กน้อยเช่นการกล่าวถึง คำพูด คติ ที่มีประโยชน์ หรือ น่ารัก สามารถสร้างรอยยิ้มได้
- มีช่วงเวลาที่ดีร่วมกันเสมอ ในแต่ละปี มีช่วงเทศกาลที่คนไทยมักจะมีความสุข เฉลิมฉลอง สินค้าและบริการที่ไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านี้ น่าจะได้ประโยชน์ (เปรียบเหมือนการเข้าไปคุยกับใครสักคน ในขณะที่เขากำลังอารมณ์ดี)
- ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ฟังปัญหาของลูกค้า ช่วยเหลือลูกค้าในกรณีที่เขาต้องการข้อมูล หรือคำแนะนำ หรือบริการหลังการขาย ในทุกๆ กรณี เพราะเพื่อนที่ดีจริงๆ มักให้ความช่วยเหลือโดยไม่เกี่ยงว่า เรื่องนั้นๆ เป็นความรับผิดชอบของตนเองหรือเปล่า
บางครั้ง ขอไม่เป็นเพื่อนได้ไหม …. แน่นอนว่าการที่ลูกค้าเห็นเราเป็นเพื่อน เป็นเรื่องที่ดีแน่นอนครับ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ ระหว่างแบรนด์ของเรากับลูกค้านั้น ควรจะถูกจำกัดรูปแบบไว้แค่ความสัมพันธ์แบบเพื่อนเท่านั้นหรือเปล่า ก็ไม่แน่นะครับ ลองคิดถึงน้องๆ ม.ต้นที่วันนี้อาจต้องการคำแนะนำจากพี่สาว ม.ปลาย เกี่ยวกับการแต่งตัว หรือแต่งหน้า หรือ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กๆ ที่มุ่งหวังจะได้รับคำแนะนำจากนักลงทุน หรือเจ้าของธุรกิจมืออาชีพ น่าคิดนะครับ แบรนด์ของเรา แม้ไม่ใช่เพื่อน แต่ก็อาจเลือกวางตัว และสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ กับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายในแบบที่เขาต้องการได้เช่นกันครับ
รวมประเด็น ทั้งที่ได้พูดและไม่ได้พูดใน #FBMkt #mkttwit
Posted by siwat in Digital Marketing on September 19th, 2010
เมื่อบ่ายวันนี้ได้มีโอกาสไปร่วมงาน Facebook Marketing ที่จัดโดย MKTtwit.com ได้รับความรู้ และทีเด็ดจากคนที่เป็นทั้งนักปฎิบัติตัวจริงอย่าง @jommnaja และ @gthchannel @phenarploy และนักการตลาดอย่างคุณคริส จาก DELL
พอช่วงที่สองผมก็ได้มีโอกาสขึ้น panel คู่กับ คุณป้อม @pawoot โดยมี คุณต่าย @sresuda เป็น moderator ระหว่างที่คุยกันไปผมก็เกิดมีไอเดียบางอย่าง เลยจดๆ ไว้ บางอันก็พูดบางอันก็ไม่ได้พูด จึงขอเอากลับมาแชร์ตรงนี้แทนครับ
Q: การใช้ social media ทำการตลาดสำหรับ Enterprise market ทำอย่างไร
A: ใน session ผมได้เล่าว่า เนื่องจากตลาดนี้ ช่องทางการขาย มีพนักงานขายเป็นส่วนสำคัญ และไม่อาจปิดการขายผ่าน online ได้ง่าย จึงน่าจะปรับใช้ โดยให้พนักงานขายเองใช้ FB เป็นเครื่องมือในการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าได้ แค่ add Facebook กันก็ได้รู้จักลูกค้า(คนสำคัญ) ในรายละเอียดได้อีกมาก นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มความถี่ในการคุยกับลูกค้าได้แบบไม่ต้องเป็นทางการมากอีกด้วย แต่นอกจากนั้นแล้วผมคิดว่า ยังใช้ social media เป็นเครื่องมือสำคัญได้อีกครับ โดยใช้รวมกลุ่มลูกค้าเข้าด้วยกัน แต่แทนที่จะทำเป็น Fan page อย่างทั่วๆไป อาจใช้ Facebook group แบบปิดแทนก็ได้ครับ เวลามีอะไรสามารถส่ง message ให้ลูกค้าทั้งหมดได้ สามารถสร้าง Event ชวนลูกค้ามางานเปิดตัว ประชุม สัมมนา ได้ง่ายๆครับ และที่สำคัญใช้ช่องทางนี้ในการเผยแพร่ข้อมูล spec สินค้าได้อีกด้วยครับ หรือแม้กระทั่ง PR กิจกรรมของบริษัท
Q: การทำ Facebook marketing ในแต่ละสินค้า อาจแตกต่างกัน แบ่งได้แบบไหนบ้าง
A: ผมว่าแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้ครับ
- สร้างยอดขาย อันนี้ผมว่าใ้ช้กับสินค้าที่ขาย online ได้ผลดีที่สุด อย่าง case ของ DELL เมืองนอกที่ดังๆ สร้างยอดขายได้หลายล้าน US ก็ขายผ่าน online store แต่ถ้าอย่างใกล้ตัวเราก็พวก ธุรกิจโรงแรม สายการบิน แต่ถ้าขาย online ไม่ได้ ต้องหามุขให้เชื่อมไปยังการขายที่ offline ให้ได้ เช่นให้ print code หรือ coupon ไปยังจุดขาย (แต่แบบนี้ก็ยังไม่สะดวกเท่าไหร่ครับสำหรับ ลูกค้า)
- ให้บริการ สำหรับสินค้า High involvement ที่มีราคาสูงๆ คนซื้อแล้ว ต้องการบริการทั้งสิ้นครับ ช่องทาง Facebook ทำให้ลูกค้ามา แนะนำ ติชม ร้องเรียน ติดต่อรับบริการได้สะดวกมากๆ เพราะใกล้ตัวลูกค้าครับ ลูกค้าใช้งาน Facebook ประจำอยู่แล้ว
- เสริมสร้างภาพลักษณ์ อันนี้มีสินค้าใช้เยอะ แต่ว่าแนวเสริมสร้างภาพลักษณ์นี้ ถ้าใครจะใช้ ผมว่าต้องทำ content ประชาสัมพันธ์ให้มันเด่นๆ ครับ จะได้มีคน share ต่อมากๆ เช่น ภาพก็ต้องสวยๆ หรือตัวอย่าง video สัมภาษณ์ลูกค้าที่เป็น testimonial ก็ได้ครับ
- ใช้ขยายผลกิจกรรมการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการจัด event ซึ่งโดยปรกติ พอจัด event สิ่งที่จะเกิดขึ้นเยอะมากๆ คือ content ครับ และ Facebook เป็นเครื่องมือที่สุดยอดมาก ในการเผยแพร่ content เหล่านั้นออกไปใน รูปต่างๆ เช่น ภาพ วีดีโอ นอกจากนั้นยังทำได้ทันทีทันใดซะด้วย ทำให้ความเคลื่อนไหวของกิจกรรม ที่พูดออกมาผ่าน Facebook นั้นมีความสด ใหม่เสมอ อีกรูปแบบหนึ่งที่ ฮิตมากๆ คือ เราจะเห็นการย้ายกิจกรรม เกมส์ จาก ที่เล่นใน microsite ของสินค้าต่างๆ มาเป็นการทำกิจกรรม ผ่าน Facebook page หรือ Facebook application ปัจจัยสำคัญคือ เราสามารถสร้างกิจกรรมที่เผยแพร่ ผล คะแนน ภาพ ของลูกค้าที่มาร่วมกิจกรรม ก็จะทำให้มีคนอื่นๆ มาเห็น (จาก Wall ลูกค้า) ได้อีกมาก เกิดการขยายผลในเชิง viral ออกไปได้อีกครับ
* สำหรับท่านที่ไม่คุ้นเคยกับ High / Low involvement products ผมแนะนำให้ลองศึกษา FCB grid ครับ ลอง search Google หาดูได้ครับ
Q: แนวทาง viral ทำอย่างไรให้มันกระจายออกไป
A: แปลก เศร้า สะเทือนใจ ประทับใจ กินใจ แทงใจ แปลก ตลก น่ากลัว หรือ มี surprise ให้ประหลาดใจ ถ้านึกไม่ออก นึกถึง content ที่เรา forward mail กันก็ได้ครับ หรืออีกแบบที่เข้ากับหลายๆ สินค้า คือ ทำข้อมูลอันมีประโยชน์เผยแพร่ออกไป ก็มีโอกาสกระจายได้ครับ เช่น รพ. ทำ content video เรื่องโรคต่างๆ คนที่สนใจ ดูแล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์ก็จะกด share หรือ โรงแรม ถ่ายภาพ ห้องพัก วิว สวยๆ คนก็จะกด share หรือ หนังโฆษณา ที่น่าประทับใจ เพลงเพราะๆ คนก็จะกด share ครับ
นอกจากนี้ผมมีประเด็นเสริมอีกครับ ดังนี้
- เห็นด้วยกับคุณ @phenarploy ว่าบางครั้ง ภาพถ่ายสินค้าใน Facebook ไม่ต้องสวยมากก็ได้ เน้นเร็วๆ อันนี้ถูกต้องมากๆ โดยเฉพาะกับสินค้าที่มีความเป็นมาตรฐาน อย่าง กระเป๋าที่ถูกยกเป็นตัวอย่าง คนรู้อยู่แล้วว่ามันโอเค เพราะ brand เขาดัง แต่ในบางสินค้าอาจต้องพิจารณาให้ดี ว่าเร็ว หรือสวย สำคัญกว่ากัน เช่น resort โรงแรม ร้านอาหาร ภาพถ่ายมีความสำคัญมาก อาหารดูน่าทานหรือเปล่า ห้องพักดูสวยหรือเปล่า วิวดูสวยหรือเปล่า อันนี้อาจต้องพิถีพิัถันมากอีกหน่อยครับ
- อย่างไรก็ตาม Facebook user บ้านเรา ยังกระจุกตัวใน กรุงเทพฯ นะครับ สินค้า target ต่างจังหวัดต้องพิจารณาเลือกใช้ ครับ และ Facebook user ส่วนใหญ่อายุ 18-34 ปี ถ้า target กลุ่มอื่นๆก็ต้องศึกษาให้ละเอียด ว่าจะได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหนครับ
- ผมชอบเคล็ดลับของ @gthchannel เรื่องการรวมศูนย์เป็นพิเศษครับ ถ้าให้แบ่ง content ผมแ่บ่งเป็น 2 อย่าง คือ content ที่หมดอายุ กับ content ไม่หมดอายุ อย่างของ GTH นี่ content หนัง จริงๆ แล้ว ไม่หมดอายุ แต่พอหนังออกโรงไป ความสนใจมันลดลง การรวมไว้ด้วยกันใน page เดียวจึงสร้างประโยชน์ให้ GTH ได้จริงครับ น่าดีใจแทน หนังไทยด้วยนะ ที่มีคนทำ social media เก่งๆ
- สุดท้าย ถ้าใครจำ summary ของคุณคริส จาก DELL ได้ ลองสังเกตให้ดี เทคนิคนี้ เหมือน เทคนิค จีบสาว มากครับ เริ่มจาก (1) Know your target อันนี้ก็เหมือนตอนเรา เล็งๆ เหล่ๆ (2) Reach through the right channel อันนี้เหมือนจังหวะ เข้าไปคุย ทำความรู้จัก เข้าไม่ถูกทาง ก็อาจวืดได้ แต่ถ้าเข้าได้จังหวะก็แจ๋วเลยครับ ต่อมา (3) Push emotional button แหม อันนี้สุดยอดครับ จะได้ใจ ไม่ได้ใจ อันนี้ก็ต้องหาจุดอ่อน (ทางอารมณ์) ของสาวเจ้าให้เจอ ถ้าเจอละก็ โอกาสสำเร็จมีสูงครับ … แต่แล้วอันสุดท้ายนี่สิครับ (4) Long term management คือพอได้มาแล้ว จะทิ้งขว้างไม่ได้นะครับ ต้องดูแลกันไปอีกยาวทีเดียว ประมาณว่า ห้ามทิ้งเค้า ต้องอยู่ไปจนกว่าเค้าจะทิ้งเรา ครับ!
สุดท้ายต้องขอขอบคุณทีมงาน #MKTtwit ทุกท่านครับ สำหรับงานดีๆแบบนี้
Online video content – is this for chic and modern urbanite?
Posted by siwat in Digital Marketing on June 8th, 2010
Just across the night after a touching speech by Pongpat Wachirabunjong, at Nataraj Award, the famous clip posted on Youtube has hit 600,000 views. This is one of the phenomenon for Thai Internet industry.
The key driver behind this rapid growth of views is absolutely the ability to “share” video content over Facebook, as well as “retweet” over Twitter. The same clip hits 1.1 million views after 24 hours and 1.6 million views 3 weeks afterward. Facebook timeline of many Thai people was flooded by these clips during the first few hours after his speech.
Social media nowadays creates a great chance for great content to go viral. Video content in itself becomes very popular as broadband internet has increased its accessibilities. However, this clip is not the most famous Thai video content viewed by Thai people. We have investigated some other Thai content posted on Youtube and surprisingly found a massive hit on viewing “Luktoong” music videos on Youtube. The famous one like “Bor Gar Bog Kru” by Ernkwan Warunya was more-than-double viewed compared to the famous Pop ones from Bodyslam, Endorphine, or even Bird Thongchai.
As broadband internet has rapidly expanded its coverage to upcountry, and Youtube has entered the top 4 of Thailand site ranking, as well as become no. 2 search engine globally, this space is to be monitored and opportunities are to be leverage.
Foursquare added “WHERE” element to the social media development
Posted by siwat in Digital Marketing on May 14th, 2010
The emergence of foursquare also added the new “WHERE” element to the development of social media. Driven by GPS technology, we can foresee how this application affect our way of living the same way the other social media did in the past. Obviously, technologies are the driver behind changes of consumer behavior nowadays.
Foursquare : Do Thai marketers have to pay attention to this location-based service now?
Posted by siwat in Digital Marketing on May 11th, 2010
If 2009 was the year of Twitter, 2010 looks set to be the year foursquare steals that crown. A service that mixes social, locative and gaming elements to encourage people explore the cities in which they live.
Haven’t heard about it? Register at http://www.foursquare.com , download the application to your mobile device and give a try. Upon your first check-in, you may find the tips those the previous visitors shared about that particular place.
Foursquare has already been embraced by some early-adopters in Thailand*. Nevertheless, many marketers will be asking what all the fuss is about and whether they need to pay any attention.
At present this means that it’s mainly businesses such as restaurants and cafes taking an interest in foursquare. But we can certainly see it spreading so that any business with a physical representation, whether it’s a retailer or a bank, should consider how customers using foursquare could affect their reputation.
* We randomly picked 9 places those have more than 100 people checked-in, obviously there are still limited amount of users. However, it’s worth to keep monitoring these people as they are not only check-in to show their presence, but also add some tips those may affect the followers’ purchase decision.
My Twitter note from ABF – social media marketing seminar 18 June
Posted by siwat in Digital Marketing on June 20th, 2009
My Twitter note from ABF – social media marketing seminar 19 June
Posted by siwat in Digital Marketing on June 20th, 2009

